|
 
 
 
วันที่ / Date 1-2/05/2568
55.00 บาท/กก. (THB/Kg.)
 
วันที่ / Date 30/04/2568
1,400.00 USD/MT (@ B/USD)
  •   ผวาโดนหางเลขภาษีทรัมป์ แนะรัฐบาล 6 ข้อเตรียมพร้อม ก่อนเปิดฤดูกรีดยาง new

สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยาง ฯ ผวาโดนหางเลข สหรัฐเก็บภาษีนำเข้าทุบราคายางระลอกใหม่ แนะรัฐบาลงัดโครงการชะลอขายยางพารา ผุดแก้มลิงสต็อกเก็บยาง พร้อม 6 มาตรการ ป้องกันราคาตก พ่อค้ากดราคาต่ำ

ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า คณะกรรมการสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สยท.) ได้มีการประชุม และมีการแจ้งข่าวว่าไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีการเรียกประชุมคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542 เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำอย่างเร่งด่วน นั้น สมาคมฯ จึงขอขอบคุณรัฐมนตรีอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย


ทั้งนี้ สมาคมฯ เห็นว่าหากมีการใช้ประโยชน์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวอย่างเต็มที่ก็จะสามารถสร้างเสถียรภาพให้กับราคายางพาราได้อย่างยั่งยืน ให้เสนอโครงการชะลอการขายยางแก่การยางแห่งประเทศไทยที่ได้มีการดำเนินงานอยู่ผ่านทางสถาบันเกษตรกรที่เข้มแข็งเป็นกลไกหลักในการดำเนินงาน อันมีวัตถุประสงค์เพื่อชะลอการขายยางในช่วงวิกฤตราคายางตกต่ำ เป็นการชะลอยางออกสู่ตลาดในรูปแบบแก้มลิง โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนตามมาตรา 49 (3) แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง เพื่อลดราคายางผันผวนที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน


โดยที่โครงการสามารถสนับสนุนเกษตรกรผู้ผลิตยางก้อนถ้วย ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ 60 ของเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ ให้สามารถชะลอการขายผลผลิตในช่วงราคาตกต่ำได้เช่นเดียวกับการทำยางแผ่นดิบในอดีต และคณะกรรมการสมาคมฯได้ร่วมพิจารณาอย่างรอบด้าน จึงขอเสนอแนว 6 ทางเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้


1. ให้มีการขยายขอบเขตโครงการดังกล่าวให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และหากเป็นไปได้ควรเป็นขยายโครงการให้ครอบคลุมพื้นที่ปลูกยางที่มีในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จังหวัดละ 1 แห่ง


2. สนับสนุนการทำยางเครปโดยการสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องทำยางเครปให้แก่สถาบันเกษตรกรเป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรสามารถนำยางก้อนถ้วยมาแปรรูปเป็นยางเครปและนำไปผึ่งแห้งที่บ้าน


3. สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนภายใต้โครงการชะลอยางดังกล่าว โดยการยางแห่งประเทศไทย(กยท.)ให้การสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่เกษตรกรผ่านสถาบันเกษตรกร โดยเกษตรกรสามารถเบิกจ่ายได้ประมาณร้อยละ 50 ของราคายางโดยไม่มีดอกเบี้ย และหมุนเวียนคืนอยู่ในระบบเมื่อเกษตรกรขายยาง


4. ส่งเสริมคุณภาพยางพาราโดยสนับสนุนให้มีการแปรรูปเป็นยางเครปจะช่วยให้เกษตรกรสามารถควบคุมคุณภาพยางได้ง่ายขึ้น การดูเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งจะมีความแม่นยำเช่นเดียวกับยางแผ่นดิบ และยังส่งผลดีต่อคุณภาพยาง STR 20 ที่ผู้ประกอบการรับซื้อ เนื่องจากไม่มีน้ำเสียจากการขนส่ง และเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม


5. เพิ่มมูลค่าผลผลิต: หากเกษตรกรสามารถผลิตยางก้อนถ้วยที่มีคุณภาพ อาจมีโอกาสในการนำไปผลิตเป็นยาง STR 10 ซึ่งมีราคาสูงขึ้น โดยเจ้าหน้าที่การยางพาราแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบและรับรองคุณภาพยางเครปได้ ซึ่งจะช่วยให้โรงงานผลิตยางแท่งให้ราคาที่เป็นธรรม และลดปัญหาการเอาเปรียบเรื่องความชื้นเหมือนยางแผ่นดิบ


6. เสนอให้สนับสนุนสถาบันเกษตรกรในการรับซื้อน้ำยางสดจากเกษตรกรในสภาวกฤตราคายางตกต่ำ  โดยใช้เงินอุดหนุนตามพรบ.มาตรา 49(3) และพรบ.การยางพาราแห่งประเทศไทย มาสนับสนุนการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำยางสดจากเกษตรกร โดยให้การยางพาราแห่งประเทศไทยหาแนวทางเพื่อให้ความเสมอภาคของเกษตรกรชาวสวนยาง


นายอุทัย กล่าวจากมติที่การประชุมทั้ง 6 ข้อของสมาคมฯครั้งนี้  ซึ่งจะเป็นโครงการนำร่องที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตยางพาราอย่างไม่เคยมีรัฐบาลไหนทำมาก่อน และจะเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรรายย่อย ในขณะที่สวนยางรายใหญ่สามารถลงทุนซื้อเครื่องทำยางเครปได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะส่งผลดีให้ประเทศไทยที่สามารถจำหน่ายยางพาราที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก และเมื่อเกิดวิกฤตราคายางจะไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการประกันราคาหรือแทรกแซงราคาเหมือนที่ผ่านมาที่รัฐต้องรับภาระสูญเสียเงินงบประมาณแผ่นดินในการแทรกแซงยางในทุกๆ ครั้งที่ผ่าน โดยให้เร่งจัดทำแนวทางในการแก้ไขปัญหาวิกฤตราคายางดังกล่าวเร่งด่วนก่อนเปิดฤดูการกรีดยางในปีนี้ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางเกิดความเชื่อมั่นกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาครั้งนี้



ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

Update :  26 เมษายน 2568     เวลา : 15:00:28 น.
 

สมาคมน้ำยางข้นไทย
60 ถ.โชติวิทยะกุล 3 ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
Tel. 0 7455 9508 , 09 5065 2772
E-mail tla.latex@gmail.com, contact@tla-latex.org

ระบบจัดการข้อมูล | ระบบเช็คอีเมล์
Copyright 2006. www.tla-latex.org All rights reserved.
Powered by ME-FI dot com